วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

….ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง


หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ

และห่วงรายได้กันมากๆเข้าแล้ว

จะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้

ความดี ความเจริญของเด็ก

ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้น ก็จะค่อยๆบั่นทอน

ทำลายความเป็นครูไปจนหมดสิ้น

จะไม่มีอะไรดีเหลือไว้พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจ

หรือจะผูกใจใครไว้ได้

ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่ให้เคารพบูชาอีกต่อไป…..


 

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการเลี้ยงปลาหางนกยูง

การเลี้ยงปลาหางนกยูง










ปลาหางนกยูงจัดเป็นปลาสวยงามประเภทหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีประมาณ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Cobra (คอบร้า) Tuxedo (ทักซิโด้) Mosaic (โมเสค) Grass (กร๊าซ) และ Sword tall ( นกยูงหางดาบ) พันธุ์เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงให้มีลักษณะสวยงาม แข็งแรงลำตัวใหญ่สมส่วน ไม่คดงอ มีการทรงตัวปกติ ครีบหางใหญ่ไม่หักพับขณะว่าย และที่สำคัญมีสีสันลวดลายตรงตามสายพันธุ์ สำหรับวิธีเลี้ยงปลาหางนกยูงให้มีสีสันสวยงาม เพื่อให้ได้ราคาดี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้



เลี้ยงปลาหางนกยูงแบบมืออาชีพ



ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินสัตว์น้ำตัวเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งลูกปลาตัวเล็กๆ ที่เกิดใหม่ด้วย เมื่อปลามีอายุประมาณ 3 เดือนก็สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องแยกปลาเพศผู้กับเพศเมียไว้คนละบ่อ เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์กันเอง การแยกเพศทำได้เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไป วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง มีขั้นตอน ดังนี้



เตรียมบ่อ ที่ใช้เลี้ยงตามต้องการ ทำความสะอาด ผึ่งแดดให้แห้ง หลังจากนั้นเปิดน้ำใส่แช่ทิ้งไว้ 1 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง



น้ำที่ใช้ใส่บ่อเลี้ยงปลา ต้องเป็นน้ำสะอาด



น้ำประปา ต้องไม่มีคลอรีนเจือปนอยู่ โดยพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์



น้ำบาดาล ทำเช่นเดียวกับน้ำประปา คือพักน้ำทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ และเติมออกซิเจนตลอดเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ



ดูค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) โดยใช้กระดาษทดสอบค่า pH จุ่มในน้ำ แล้วนำสีที่ได้มาเทียบค่า ให้มีค่าประมาณ 6.5 – 7.5 (กระดาษทดสอบหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลาทั่วไป)



อาหารของปลาหางนกยูง



สำหรับอาหาร ปลาหางนกยูงจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่าอาหารสดจำพวก ลูกน้ำ ไรแดง ไรสีน้ำตาล ไรทะเล ที่มีชีวิต หรืออาหารปลาสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด อาหารควรให้ 2 เวลา คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าควรเป็นอาหารสดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยนำไปแช่ด่างทับทิม ขั้นตอนคือนำด่างทับทิมประมาณหยิบมือ ละลายน้ำ นำไรแดง หรืออาหารสดอื่นๆ ลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วินาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง ตอนเย็นอาจเปลี่ยนไปให้อาหารสำเร็จรูปแทนได้ เมื่อให้อาหารปลาเสร็จแล้ว ควรดูว่าปลากินหมดหรือไม่ ให้น้อยไปหรือไม่ สังเกตได้จากปลากินหมดเร็วมาก ก็ให้เพิ่มอีก แต่หากให้อาหารเยอะไปมีเศษอาหารเหลือ ให้ตักทิ้ง อาหารสดที่กล่าวมา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาสวยงามทั่วไป หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร สิ่งสำคัญ ควรให้อาหารสดจำพวกไรแดง ไรทะเล ดีกว่าให้อาหารสำเร็จรูป เพราะปลาจะได้มีสีสันที่สวยงาม



การทำความสะอาด



ในแต่ละสัปดาห์ ควรดูดน้ำก้นบ่อเอาขยะออก และให้เหลือน้ำเก่าประมาณครึ่งบ่อ จากนั้นจึงเติมน้ำใหม่ลงไป สาเหตุที่ไม่เทออกทั้งหมด เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ และในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน ให้ล้างทำความสะอาดบ่อและเปลี่ยนน้ำใหม่



ระวัง! ภัยจากโรคร้าย



โรคจุดขาว จะพบตามผิวหนังด้านนอก เนื่องจากปลาสร้างเซลล์ผิวหนังหุ้มสัตว์เซลล์เดียวที่ชื่ออิ๊ค เพื่อลดความระคายเคือง โรคนี้ไม่มีวิธีรักษา แต่สามารถทำลายตัวอิ๊คในน้ำ โดยใส่ฟอร์มาลิน 25 –30 ซีซี ผสมกับมาลาไค้ท์กรีน 0.1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด ทำซ้ำ 3–4 วัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์



โรคจากตัวปลิงใส จะพบตามเหงือกและผิวหนัง ซึ่งเกิดจากปรสิตตัวแบน 2 ชนิด คือ Gyrodactylus และ Dctylogyrus การรักษาใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ตลอด



โรคจากหนอนสมอ การรักษาใช้ดิพเทอร์เรกซ์เข้มข้น 0.25 – 0.50 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด และทำซ้ำ 3–4 ครั้ง โดยห่างกัน 1 สัปดาห์ วิธีนี้สามารถรักษาโรคจากตัวปลิงใสได้ด้วย



โรคจากแบคทีเรีย อาการสังเกตจากส่วนครีบและหางกร่อน ท้องบวมน้ำ เกล็ดพอง การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไนโตรฟูราโซน 1–2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือใช้เกลือแกงเล็กน้อยละลายน้ำ แช่นาน 2–3 วัน



เมื่อพบปลาที่เป็นโรคควรแยกออกจากบ่อ แล้วทำการรักษาตามอาการที่พบ จากนั้นล้างทำความสะอาดบ่อทันที เพื่อไม่ให้ปลาในบ่อทั้งหมดติดโรคไปด้วย สารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรค หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาสวยงามทั่วไป หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร











ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เทคนิคการเลี้ยงปลาทองในตู้

นักเลี้ยงปลาทองส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงในตู้มากกว่า ภาชนะอย่างอื่น เพราะนอกเหนือจากความงดงามอ่อนช้อยของปลาทองแล้ว ยังสามารถตกแต่งตู้ปลาให้สวยงามเป็นเครื่องประดับบ้านโชว์แขกที่มาเยี่ยมเยือนได้เป็นอย่างดี


การเลี้ยงปลาทองในตู้จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าดังต่อไปนี้

เลือกสถานที่

ก่อนซื้อตู้ปลา ควรกำหนดจุดหรือบริเวณภายในบ้านหรืออาคารสำหรับเป็นที่ตั้งตู้ปลาเสียก่อน วัดขนาดความกว้างความสูงของสถานที่ ให้แน่นอนแล้วจึงไปหาซื้อตู้ที่มีขนาดพอเหมาะกับสถานที่ตั้ง

จุดที่เหมาะสำหรับตั้งตู้เลี้ยงปลาทองควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวกถ้าได้ที่มีแสงแดดตอนเข้าส่องถึงจะดีมาก เพราะแสงแดดยามเช้าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ตรงกันข้ามกับแสงแดดยามบ่ายจะทำให้สีของปลาจางลงนอกจากนั้นแล้วจุดตั้งตู้เลี้ยงปลาควรอยู่ตรงที่สามารถขับถ่ายน้ำได้สะดวก

ตู้เลี้ยงปลา

ตู้เลี้ยงปลาทองควรพิจารณาเลือกตู้ที่มีรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เลือกไว้ อย่างไรก็ตามขนาดของตู้ไม่ควรเล็กเกินไปถ้าต้องการจะตกแต่งตู้ด้วยพรรณไม้น้ำและวัสดุอย่างอื่นเช่นก้อนหิน หรือขอนไม้

ตู้เลี้ยงปลาปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ชนิด คือ ตู้ที่ทำด้วยแผ่นกระจก และตู้ที่หล่อขึ้นจากอะคริลิกใส ตู้กระจกมีข้อดีตรงที่ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเวลาทำความสะอาด แต่เสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก และมีรอยต่อตรงมุมตู้ส่วนตู้อะคริลิกมี่ข้อดีตรงที่มีความใสมากกว่าแผ่นกระจก ไม่มีรอยต่อตรงมุมตู้น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียที่ราคาแพง เกิดรอยขีดข่วนง่ายและถ้าเป็นอะคริลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชาด้วยเหตุนี้ตู้กระจกจึงยังได้รับความนิยมมากกว่า

การจัดเตรียมตู้ปลา

ตู้ปลาที่ซื้อมาใหม่จะต้องล้างทำความสะอาดแล้วใสน้ำแช่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ระหว่างที่ใสน้ำแช่ไว้ควรตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมที่ใดบ้างหรือเปล่าถ้ามีก็จัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นถ่ายน้ำที่แช่ไว้ออกให้หมด เช็ดให้แห้งแล้วนำไปวางเข้าที่ที่เตรียมไว้ การเคลื่อนย้ายตู้ปลาควรใช้มือช้อนเข้าไปในตู้แล้วยก อย่าจับขอบด้านบนแล้วยกเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้แผ่นกระจกด้านข้างโย้ไปมาจนกาวยึดรอยต่อเกิดการรั่วซึมหรือฉีกขาดได้

เตรียมแผ่นกรอง

แผ่นกรองก่อนนำมาใช้จะต้องทำความสะอาดเสียก่อนเนื่องจากแผ่นกรองทำด้วยพลาสติกที่ใช้สารเคมีในขบวนการผลิต ถ้าไม่ล้างออกให้หมดอาจเป็นอันตรายต่อปลา จากนั้นนำแผ่นกรองประกอบเข้ากับท่อระบายอากาศ ต่อสายยางจากปั้มลมเข้ากับท่อลมข้างท่อระบายอากาศ แล้วเอาแผ่นกรองวางแนบกับพื้นตู้

เตรียมพื้นตู้

วัสดุที่ใช้ปูพื้นตู้โดยมากนิยมใช้ทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็ก ไม่ควรใช้ทรายละเอียด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลงตกตะกอนและเศษของเสียยังตกค้างอยู่บนพื้นผิวทราย เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น สำหรับปลาทองซึ่งเป็นปลาที่ชอบคุ้ยหาอาหารที่พื้นจึงควรใช้กรวดขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และควรเลือกกรวดที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมและปราศจากเศษเปลือกหอย ป้องกันปลาทองบาดเจ็บเมื่อว่ายไปชน

ก่อนนำกรวดมาใช้ปูพื้นตู้ปลาจะต้องล้างให้สะอาดจนหมดเศษดินแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 วันเพื่อกำจัดความเค็มที่อาจติดมากับกรวดถ้าจะให้ดีก็ควรเอากรวดมาลวกน้ำร้อนในถังแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้น้ำร้อนแทรกซึมเม็ดกรวดได้ทั่วถึง แล้วจึงนำมาล้างน้ำเย็นให้สะอาดก่อนนำไปใช้

นำกรวดที่ล้างสะอาดแล้วไปเทใส่ตู้กลบทับแผ่นกรองให้มิดและหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว ที่นิยมกันมากจะปูพื้นให้ระดับกรวดด้านหลังตู้สูงกว่าด้านหน้า พื้นกรวดที่มีลักษณะเอียงลาดแบบนี้เมื่อนานไป กรวดที่อยู่ระดับสูงจะเลื่อนไหลลงมาอยู่ที่ระดับเดียวกันเป็นพื้นราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควรหาอะไรมากั้นดักเอาไว้เป็นช่วง ๆ

ขั้นตอนการเตรียมตู้ปลา

1. ใส่กรวดทับลงไปบนแผ่นกรอง

2. เกลี่ยกรวดให้เต็มพื้นตู้

3. ปรับระดับชั้นกรวดสูงต่ำตามต้องการ

4. ตกแต่งด้วยก้อนหิน ขอนไม้ ตามชอบ

5. ใส่น้ำโดยใช้พลาสติกหรือชามรองกันทรายกระจายขึ้นมา

6. ถ้าต้องการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้น้ำใส่น้ำลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อน

7. เริ่มปลูกต้นไม้น้ำที่เป็นฉากหลังก่อน

8. ปลูกต้นไม้น้ำระดับกลางตู้

9. ปลูกต้นไม้น้ำขนาดเล็กไว้ด้านหน้าตู้

10. หลังจากปลูกต้นไม้น้ำหมดแล้วให้ถ่ายน้ำทิ้ง

11. ใส่น้ำสะอาดไปให้เต็มตู้แล้วช้อนเศษใบและกิ่งก้านไม้น้ำที่ลอยอยู่ในน้ำออกให้หมด

12. ตู้ที่จัดเสร็จแล้วแต่น้ำยังขุ่นอยู่ ต้องรอให้น้ำใสเสียก่อนจึงค่อยปล่อยปลาลงไปเลี้ยง

การตกแต่ง

อุปกรณ์สำหรับตกแต่งตู้เลี้ยงปลาทองต้องเลือกวัสดุที่ไม่มีเหลี่ยมคมไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน หรือขอนไม้และที่ไม่ควรใช้อย่างยิ่งคือ ปะการัง ซึ่งมีแง่แหลมคมมากมายเป็นอันตรายต่อปลาทอง อุปกรณ์ตกแต่งทุกชิ้นจะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดเสียก่อนจึงค่อยนำไปใช้

การใส่น้ำลงไปในตู้

ก่อนใส่น้ำลงไปในตู้ปลาควรเอาพลาสติกอ่อนคลุ่มพื้นตู้หรือเอาชามไปวางไว้ก้นตู้กันกรวดกระจายเพราะแรงน้ำ เมื่อใส่น้ำลงไปในตู้ครั้งแรกจะขุ่นขึ้นมาทันทีควรถ่ายทิ้งแล้วเติมน้ำใหม่ลงไปถ้าต้องการจะตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำก็ทำเสียตอนนี้ แต่ควรทราบไว้อย่างหนึ่งว่า ปลาทองส่วนใหญ่ชอบกัดทำลายพืชน้ำ หากต้องการให้ภูมิทัศน์ในตู้ปลามีสีสันของพรรณไม้น้ำขอแนะนำว่าควรใช้ต้นไม้น้ำประดิษฐ์มาตกแต่งแทน

หลังจากตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำแล้วหากน้ำขุ่นมากก็ถ่ายออกแล้วเติมน้ำใหม่ลงไป พร้อมกันนี้ก็เปิดเครื่องปั๊มลมเพื่อเติมออกซิเจนให้กับน้ำและให้ระบบการกรองเริ่มทำงานทันที

น้ำที่เหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงปลาในตู้มากที่สุด คือ น้ำประปา เนื่องจากผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนมาแล้วจึงมั่นใจได้ว่าไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรค มาแพร่สู่ปลาที่เลี้ยง น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นน้ำจากบ่อ แม่น้ำ คลอง บึง ไม่เหมาะจะเอามาใช้เลี้ยงปลาทองเพราะเสี่ยงต่อจุลินทรีย์ที่ปะปนมากับน้ำซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลา

วิธีกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปา

การกำจัดสารคลอรีนในน้ำประปาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เอาน้ำประปาไปพักไว้ในภาชนะสำหรับกักเก็บน้ำ เช่น ตุ่ม ถัง หรือแม้แต่ตู้ที่จะเลี้ยง ปลาเป็นเวลาประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปจนหมด ระหว่างการพักน้ำหากเป่าอากาศลงไปด้วยก็จะช่วงเร่งคลอรีนให้ระเหยเร็วยิ่งขึ้น

วิธีกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาที่สะดวกที่สุดก็คือ เปิดน้ำประปาผ่านเข้าไปในเครื่องกรองน้ำแล้วเอาน้ำที่ออกมาไปใช้เลี้ยงปลาได้เลย เนื่องจากเครื่องกรองน้ำมีผงถ่านคาร์บอน (Activated carbon) ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับคลอรีน สี และ กลิ่นต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำทำให้น้ำที่ออกมาใสสะอาดปราศจากสีและกลิ่น

การกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปาอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้สารกำจัดคลอรีน สารที่มีว่านี้มีชื่อทางเคมีว่า "โซเดียมไธโอซัลเฟต" (soudiumthio-sulfate) การใช้สารกำจัดคลอรีนต้องทำตามคำแนะนำในฉลากข้างภาชนะบรรจุโดยเคร่งครัด ถ้าใช้มากเกินไปตัวสารกำจัดคลอรีนเองจะกลับมาเป็นอันตรายต่อปลาที่ปล่อยลงไปเลี้ยงได้

การปล่อยปลาลงตู้

ก่อนปล่อยปลาลงตู้เลี้ยงควรสังเกตดูว่าน้ำสะอาดดีแล้วหรือยัง การปล่อยปลาลงตู้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่จะมองข้าม นักเลี้ยงปลาตู้ถือเป็นขั้นตอนสำค้ญที่สุดของการเลี้ยงปลาหากไม่รู้เทคนิคปลาอาจตายหรือไม่ยอมกินอาหารสาเหตุเนื่องจากความแตกต่างของสภาพน้ำในตู้กับสภาพน้ำในถุงปลาที่ซื้อมา

การให้อาหารปลาทอง

ปลาทองกินอาหารได้ทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ และทั้งที่เป็นอาหารธรรมชาติและอาหารสำเร็จรูป

อาหารประเภทพืช

ได้แก่ สาหร่าย แหนเป็ด และผักต่างๆ อาหารเหล่านี้เป็นตัวเสริมสร้างวิตามิน บางชนิดมีประโยชน์ทำให้สีของปลาเข้าขึ้น อย่างเช่นสาหร่ายสไปรูลิน่า ซึ่งปัจจุบันผลิตออกมาในรูปอาหารสำเร็จรูป นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย อาหารพืชจากธรรมชาติได้แก่ แหนเป็ด หรือผัก

อาหารประเภทสัตว์

ได้แก่ ลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรน้ำตาล (Artemia) หนอนแดงและไส้เดือนน้ำ สิ่งที่มีชีวิตเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีน สารประของกรดอะมิโนที่ช่วยให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีความสมบูรณ์ทางเพศดี

อีกปัญหาหนึ่งสำหรับอาหารปลาทองที่มีชีวิต คือ การเก็บรักษาอาหารให้สดอยู่ตลอดเวลา ซึ้งอาหารแต่ละชนิดก็มีวิธีเก็บรักษาที่แตกต่างกันไป คือ

ลูกน้ำ มีปัญหาที่ลูกน้ำกลายเป็นยุงมารบกวนสมาชิกในครอบครัวการเก็บรักษาลูกน้ำที่ถูกต้องคือ นำภาชนะที่ใช้เก็บลูกน้ำไปตั้งไว้นอกบ้านที่ไม่โดนแดด เติมน้ำลงไปให้ระดับน้ำเสมอขอบปากภาชนะ ใช้มุงลวดกันยุงปิดทับโดยใช้มุงลวดสัมผัสกับผิวน้ำโดยตลอดไม่เหลือที่ว่าง โดยธรรมชาติแล้วลูกน้ำก็กลายเป็นยุงจะอยู่ในน้ำต่อไปอีกไม่ได้

ไรแดง มีปัญหาเรื่องการตายเพราะขาดออกซิเจน ปกติไรแดงจะลอยตัวเป็นกลุ่มอยู่ที่ผิวน้ำ ตัวที่ตายแล้วสีจะซีดจนเป็นสีขาวและจมลงสู่ก้นภาชนะ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้น้ำเน่าเสียมีกลิ่นเหม็นไรแดงที่ตายจนเน่าแล้วถ้าเอาไปให้ปลากินปลาจะท้องเสีย เพราะฉะนั้นเวลาเอาไรแดงไปให้ปลากินควรช้อนที่ผิวน้ำเบา ๆ ป้องกันไม่ให้ไรแดงตาย

ไรน้ำตาล บางทีเรียกไรทะเลเป็นสัตว์น้ำเค็ม